เมนู

หัวข้อประจำขันธกะ


[237] 1. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครจัมปา ภิกษุ
ผู้อยู่ในวาสภคามได้ทำความขวนขวายในสิ่งจำปรารถนาแก่พวกพระอาคันตุกะ
ครั้นทราบว่าพวกท่านชำนาญในสถานที่โคจรดีแล้ว จึงเลิกทำความขวนขวายใน
กาลนั้น แต่ต้องถูกพวกพระอาคันตุกะยกเสียเพราะเหตุที่ไม่ทำ จึงได้ไปเฝ้าพระ
ชินเจ้า 2. ภิกษุทั้งหลายในนครจัมปาทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม
พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม
พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว ภิกษุรูปเดียวยก
ภิกษุ 2 รูป หลายรูปที่เป็นสงฆ์ก็มี ภิกษุ 2 รูป ภิกษุหลายรูปยกกันก็มี
และสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันก็มี 3. พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐทรงทราบแล้ว
ตรัสห้ามว่าไม่เป็นธรรม 4. กรรมใดวิบัติโดยญัตติ อนุสาวนาสมบูรณ์
วิบัติโดยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมแผกจากธรรม
แผกจากวินัย แผกจากสัตถุศาสน์ กรรมที่ถูกคัดค้านกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
5. กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรค
โดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม พระตถาคตทรงอนุญาตกรรม
พร้อมเพรียงโดยธรรมเท่านั้น 6. สงฆ์มี 5 ประเภท คือสงฆ์จตุวรรค
สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค
7. ยกอุปสมบทกรรม ปวารณากรรม กับอัพภานกรรม นอกนั้น สงฆ์
จตุวรรคทำได้ 8. ยกกรรม 2 อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมประเทศและ
อัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั่งสิ้น 9. ยกอัพภานกรรม
อย่างเดียวนอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ 10. กรรมทุกอย่าง สงฆ์วีสติวรรค
ทำได้ทั้งสิ้น 11. ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม้ทำคืนอาบัติ
ฐานไม้สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์

สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี
คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้องพระโลหิต อุภโตพยัญชนก
ภิกษุนานาสังวาส ภิกษุอยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ สงฆ์ทำกรรม
แก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ครบจำนวนสงฆ์ รวม 24 จำพวก พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าทรงห้าม เพราะพวกนั้น เป็นคณะปูรกะไม่ได้ 12. สงฆ์มีปาริวาสิกภิกษุ
เป็นที่ ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต หรือพึงอัพภาน เป็นกรรมใช้
ไม่ได้ และไม่ควรทำ มีมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุเป็นที่ 4 มีมานัตตารหภิกษุ
เป็นที่ 4 มี มานัตจาริกภิกษุเป็นที่ 4 มีอัพภานารหภิกษุเป็นที่ 4 รวม 5 จำ-
พวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรมใช้ไม่ได้ 13. ภิกษุณี
สิกขมานา สามแร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ
วิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุถูกยกเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิอัน เป็นบาป บัณเฑาะก์
คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คน
ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำโลหตุปบาท
อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาสะ ภิกษุผู้อยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วย
ฤทธิ์ และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงกรรม รวม 27 จำพวกนี้ค้านไม้ขึ้น 14. ภิกษุ
ผู้เป็นปกตัตตะค้านขึ้น 15. ภิกษุผู้บริสุทธิ์ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอันไล่ออก
ไม่ดี 16. ภิกษุพาล ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอัน ไล่ออกดี 17. บัฬเฑาะก์
คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีดเดียระถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่า
พระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุทำสังฆเภท คนทำโลหิตุปบาท อุภโต-
พยัญชนกรวม 11 จำพวกนี้รับเข้าหมู่ไม่ควร 18. คนมือด้วน คนเท้าด้วน
คนทั้งมือและเท้าด้วนทั้งสอง คนหูขาด คนจมูกแหว่ง คนทั้งหูขาดและจมูก
แหว่งทั้งสอง คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือ ง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด

คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนมีเครื่องหมายตดตัว คนมี
รอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนถูกหมายประกาศจับตัว คนเท้าปุก คนมีโรคเรื้อรัง
คนแปลกเพื่อน คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพา
คนมีอิริยาบถขาด คนชราทุพพลภาพ คนตาบอด 2 ข้าง คนใบ้ คนหูหนวก
คนทั้งบอดและใบ้ คนทั้งบอดและหนวก คนทั้งใบ้และหนวก คนทั้งบอดใบ้
และหนวก เหล่านี้ รวม 23 จำพวกพอดี รับคนเหล่านั้น เข้าหมู่ได้ พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว 19. กรรม 7 อย่าง คือการยกภิกษุผู้ไม่
เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ 1 ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 1 ไม่เห็นไม่ทำคืน
อาบัติ 1 ไม่เห็นอาบัติ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 1 ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฎฐิ
อันเป็นบาป 1 ไม่เห็น ไม่ทำคืน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป 1 เป็นกรรม ไม่
เป็นธรรม 20. กรรม 7 อย่างนั้น แม้ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้องอาบัติ
ก็เป็นกรรมไม่เป็นธรรม 21. กรรมอีก 7 อย่าง ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ เป็นกรรมที่ชอบธรรม 22. กรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง 1
กรรมที่ควรทำด้วยซักถาม กลับทำโดยไม่ซักถาม 1 กรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ
กลับทำโดยไม่ปฏิญาณ 1 ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย 1 ทำตัสสปาปิย-
สิกากรรมแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย 1 ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผ้ควรตัสสปาปิย-
สิกากรรม 1 ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม 1 ลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม 1 ลงปฎิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม 1
ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม 1 ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร
อุกเขปนียกรรม 1 ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม 1 ให้มานัตแก่ภิกษุ
ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม 1 อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต 1 ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน
ให้อุปสมบทกุลบุตร 1 ทำกรรมอย่างอื่นแก่ภิกษุอื่น 1 รวม 16 อย่างนี้ เป็น
กรรมใช้ไม่ได้ 23. ทำกรรมนั้น ๆ แก่ภิกษุนั้น ๆ รวม 16 อย่างนี้ เป็น

กรรมใช้ได้ 24. ภิกษุอื่นยกภิกษุอื่นเสียรวม 16 อย่างนี้เป็นกรรมใช้ไม่ได้
25. ทำกรรมมีมูลอย่างละ 2 แก่ภิกษุนั้น รวม 16 อย่างแม้เหล่านั้นเป็น
กรรมใช้ได้ 26. จักรมีมูลอย่างละหนึ่ง พระชินเจ้าตรัสว่า ใช้ไม่ได้
27. ภิกษุก่อความบาดหมางสงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ได้ลงตัชชนีย-
กรรม 28. ภิกษุนั้นไปอารามอื่นภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นได้พร้อมเพรียง
โดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่เธอ 29. ภิกษุทั้งหลายในอาวาส
อื่นเป็นวรรคโดยธรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรมก็มี พร้อมเพรียงโดยเทียม
ธรรมก็มี ไม่ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น 30. บทเหล่านั้น คือ พร้อมเพรียง
โดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพร้อม
เพรียงโดยเทียมธรรม ปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงผูกให้เป็นจักรทำให้มีมูลอย่างละ
หนึ่ง 31. สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด 32. สงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล 33. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุผู้ด่าคฤหัสถ์ 34.. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำหมู่ทรงภาษิตอุกเขปนีย-
กรรมแก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
35. ภิกษุมีปัญญาพึงทำตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย ภิกษุประพฤติ
เรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้นแหละ ขอระงับกรรมเหล่านั้นโดยนัย
แห่งกรรมในหนหลัง 36. ในกรรมนั้น ๆ แล สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น
กล่าวคัดค้านว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำ
ใหม่ และเมื่อกรรมระงับ ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที พระมหามุนีทรงเห็น
ภิกษุพวกเข้ากรรมได้รับความลำบากโดยกรรมวิบัติ จึงทรงชี้วิธีระงับไว้ ดุจ
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้บอกตัวยาไว้ ฉะนั้น.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ


วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ


วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร คือที่ฝั่งแห่งสระโบกรณี
ซึ่งหญิงมีชื่อว่าคัคคราสร้าง.
บทว่า ตนฺติพทฺโธ มีความว่า ชื่อผู้เนื่องเฉพาะในความขวนขวาย
เพราะข้อที่ความขวนขวายเป็นกิจอันเธอพึงทำในอาวาสนั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า อุสฺสุกฺกมฺปิ อกาสิ ยาคุยา เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้:-
สมควรทำความขวนขวายแต่ในที่ซึ่งชนทั้งหลายสั่งไว้ว่า เมื่อภิกษุ
อาคันตุกะมา ท่านพึงบอก, ไม่สมควรทำในที่ซึ่งเขาไม่ได้สั่งไว้.
ข้อว้า คจฺฉ ตวํ ภิกฺขุ มีความว่า พระศาสดาได้ทรงเห็นว่า
เสนาสนะในอาวาสนั้นนั่นแลของภิกษุนั้น เป็นที่สบาย, ด้วยเหตุนั้นแล จึง
ตรัสว่า เธอจงสำเร็จการอยู่ในวาสภคามนั้นแล.
ความกระทำต่างแห่งคำว่า อธมฺเมน วคฺคกมฺมํ ถโรนฺติ เป็น
อาทิ จักมาในบาลีข้างหน้าเป็นแท้.
ข้อว่า อญฺญตราปิ ธมฺมา กมฺมํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ทำกรรม เว้นจากธรรมบ้าง; อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี;
กรรมที่ทำด้วยวัตถุเป็นจริง จัดเป็นกรรมที่ทำตามธรรม; ความว่า ภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ไม่ทำอย่างนั้น.